วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เปิดลิ้นชักความทรงจำที่แคนาดา ตอน 12: MACKPACKER (5)


ACT I
PROLOGUE

Two households, both alike in dignity,
In fair Verona, where we lay our scene,
From ancient grudge break to new mutiny,
Where civil blood makes civil hands unclean....

ROMEO
[To JULIET] "If I profane with my unworthiest hand
This holy shrine, the gentle fine is this:
My lips, two blushing pilgrims, ready stand
To smooth that rough touch with a tender kiss.

JULIET
Good pilgrim, you do wrong your hand too much,
Which mannerly devotion shows in this;
For saints have hands that pilgrims' hands do touch,
And palm to palm is holy palmers'kiss.

...." (End of Act I)

เมื่อแรกที่ผู้เขียนมาถึงควิเบกซิตี้ สภาพภูมิศาสตร์ อาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างของควิเบกซิตี้ทำให้อดคิดถึงบรรยากาศและบทสนทนาของตัวละครในบทละครอมตะเรื่อง Romeo & Juliet ของ William Shakespear ตามที่กล่าวมาข้างบนไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากทั้งเหตุการณ์ที่ Shakespear ประพันธ์บทละครเรื่อง Romeo & Juliet และการก่อตั้งเมืองควิเบกซิตี้เป็นระยะเวลาร่วมยุคสมัยเดียวกัน โดยบทละครเรื่อง Romeo & Juliet มีหลักฐานเชื่อกันว่า Shakespear ประพันธ์บทละครเรื่องนี้ก่อนหน้าที่จะนำมาเผยแพร่ครั้งแรกเื่มื่อปี ค.ศ. 1597 ไม่นานนัก ในขณะที่ Samuel de Champlain ที่เป็นนักสำรวจชาวฝรั่งเศสได้ก่อตั้งเมืองควิเบกเมื่อปี ค.ศ. 1608 และจากการที่ทั้งคู่เป็นชาวยุโรปร่วมสมัยเดียวกัน ดังนั้นแนวคิดการสร้างบ้านแปงเมืองของ de Champlain และการสร้าง prop บทละครของ Shakespear ย่อมจะมีความคิด ความเชื่อตามยุคสมัยนั้น มาเหมือนๆ กัน

สำหรับตัวผู้เขียนนั้นชื่นชอบบทประพันธ์ของ Shakespear มาอยู่ก่อนแล้ว อาจจะเป็นเพราะว่าได้รับอิทธิพลจากเมื่อสมัยเรียนปริญญาตรีที่ต้องเรียนวรรณคดีอังกฤษ โดยอาจารย์ได้นำภาพยนต์เรื่อง Romeo & Juliet เวอร์ชันปี ค.ศ. 1968 ตามคลิปข้างบนที่ Leonard Whiting เล่นเป็น Romeo Montague และ Olivia Hussey เล่นเป็น Juliet Capulet มาฉายให้ดู ซึ่งผู้เขียนต้องขอบอกว่าชื่นชอบกับภาพยนต์เวอร์ชันนี้มากๆ เพราะคิดว่าภาพยนต์เวอร์ชันนี้มีความคลาสสิกค่อนข้างมากในเรื่องการนำเสนอ ตัวผู้แสดง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงประกอบภาพยนต์ที่หลายๆ คนอาจจะรู้จักคือเพลง "A Time for Us" โดย "A Time for Us" นี้เป็นเพลงประกอบภาพยนต์อีกเวอร์ชันหนึ่งที่มีการปรับเปลี่ยนเนื้อร้องของเพลงต้นฉบับที่ชื่อ "What Is a Youth" ซึ่งต่อมามีนักร้องโอเปร่านำไปร้องกันอย่างแพร่หลาย

สำหรับผู้ที่มีความชื่นชอบภาษาอังกฤษ รวมไปถึงชอบอ่านหนังสือบทละคร บทกวีโดยใช้ศัพท์แสงโบร่ำโบราณของนักประพันธ์ยุคเก่าๆ ที่เขาเรียกว่า playwrights ร่วมยุคเดียวกับ Shakespear อย่างเช่น Christopher Marlowe ถ้าได้ชมภาพยนต์ชุดนี้คิดว่าน่าจะชอบเหมือนกัน

อารัมภบทมาเสียยืดยาวถึงตรงนี้ก็เพียงแต่จะเล่าว่าควิเบกซิตี้มีบรรยากาศและที่มาคล้ายคลึงกับบรยากาศในบทละครของ Shakespear ก็เท่านั้นเอง ผู้เขียนใช้เวลาประมาณสามชั่วโมงในการเดินทางจากมอนทรีอัลมายังสถานีรถโดยสารของควิเบกซิตี้ เมื่อมาถึงก็เป็นเวลาสี่โมงเย็นซึ่งพระอาทิตย์ตกและท้องฟ้าก็มืดไปแล้วในช่วงเวลาหน้าหนาวเช่นนี้

การเดินทางมายังควิเบกซิตี้มีความสะดวกมาก ไม่ว่าจะเป็นทางเครื่องบินถึงแม้ว่าเส้นทางบินจะครอบคลุมแค่ไม่กี่เมืองในแคนาดาและอเมริกา เช่น มอนทรีอัล โตรอนโต ออตตาวา นิวยอร์ก ชิคาโก ดีทรอยด์ รวมไปถึงมีเส้นทางบินไปปารีสด้วย แต่ก็ยังนับว่า Jean Lesage International Airport ที่ควิเบกซิตี้เป็นทางเลือกสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินทางโดยเครื่องบิน

อีกเส้นทางหนึ่งที่นำท่านมาสู่ควิเบกซิตี้ได้ก็คือรถไฟ เส้นทางการเดินรถไฟของแคนาดานั้นค่อนข้างครอบคลุมในหลายๆ เมืองที่สำคัญตั้งแต่ฝั่งตะวันออกไปจนถึงฝั่งตะวันตก ด้วยความที่แคนาดามีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล มีคนเคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าหากว่าต้องการเดินทางจากฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตกของแคนาดาโดยทางรถไฟ หรือ VIA Rail Canada ต้องใช้เวลาถึงสามวันเต็มๆ จึงจะเดินทางถึงจุดหมายปลายทาง





อีกเส้นทางหนึ่งที่สะดวกที่สุดก็คือเดินทางรถโดยสารแบบเดียวกันกับผู้เขียนในตอนนี้ ด้วยความเหนื่อยจากการนั่งรถประกอบกับขี้เกียจศึกษาเส้นทางเดินของรถเมล์เพราะที่นี่ไม่มีรถไฟใต้ดินเหมือนเมืองใหญ่ๆ อย่างมอนทรีอัล ผู้เขียนจึงเรียกรถแท๊กซี่เพื่อให้พาไปส่งที่ Auberge Internationale de Quebec (HI International Hostel of Quebec)

hostelling ที่ควิเบกซิตี้นี้ ผู้เขียนค่อนข้างถูกใจมากกว่าทุกๆ ที่ที่เคยไปพัก เพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่บริการแก่ผู้เข้าพักหลายอย่าง โดยเฉพาะครัวที่ใหญ่กว่าทุกที่ และมีตู้เย็นที่เราสามารถซื้อของสดมาเก็บไว้ได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงทำกับข้าวกินเองระหว่างท่องเที่ยวที่นี่ เพราะนอกจากจะประหยัดเงินแล้วรสชาติอาหารไทยที่เราทำกินเองย่อมถูกใจเราด้วย ลืมเล่าไปว่าเครื่องปรุง กะปิ น้ำปลาของบ้านเราหาได้ไม่ยากในแคนาดา ไม่ว่าเมืองนั้นจะเป็นเมืองเล็ก เมืองน้อยแค่ไหน จะมีหรือไม่มี China Town นั่นไม่ใช่ปัญหาของคนไทยที่อยากหาเครื่องปรุงแบบบ้านเรา เพราะตาม Supermarket มีเครื่องปรุงจากเอเชียขายแทบทั้งนั้น ข้าวสารจากประเทศไทยยังมีขายเลย ลองสำรวจบรรยากาศของ hostelling เสียหน่อยตามคลิปข้างล่างโดยผู้นำทัวร์คนเดิมที่เคยพาไปดูบรรยากาศ hostelling ที่ออตตาวามาแล้ว





ควิเบกซิตี้เป็นเมืองที่น่าสนใจและน่าท่องเที่ยวรวมทั้งมีประวัติความเป็นมาอันเก่าแก่ สมควรที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในรายละเอียดในตอนหน้า เนื่องจากผู้เขียนคิดว่ายังมีคนไทยจำนวนมากที่มองข้ามเมืองทีี่มีเสน่ห์แห่งนี้ไป เพราะเห็นเวลาใครเดินทางมาทวีปนี้ทีไร มักจะนิยมท่องเที่ยวเฉพาะเมืองท่องเที่ยวในอเมริกา หรือบางคนถ้ามีโอกาสผนวกแคนาดาเข้าไปด้วยก็มักจะจอดป้ายที่แวนคูเวอร์หรือไม่ก็โตรอนโต ซึ่งน่าเสียดายมากที่มองข้ามเมืองอย่างควิเบกซิตี้แห่งนี้ไป



video credit to youtube by pianous, Mattis 10000

Photos crdit to: http://www.viarail.ca/en/trains/

Ref: Play Script by W. Shakespear at http://www.william-shakespeare.info/act1-script-text-romeo-and-juliet.htm

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เปิดลิ้นชักความทรงจำที่แคนาดา ตอน 11: MACKPACKER (4)

ผู้เขียนออกจากออตตาวาเพื่อเดินทางต่อไปยังมอนทรีอัลและควิเบกซิตี้ด้วยอารมณ์ที่ไม่ค่อยแจ่มใสนัก ไม่ได้เป็นเพราะไม่ถูกอัธยาศัยผู้คนชาวคาเนเดียนในเมืองหลวงแห่งนี้แต่อย่างใด กลับกลายเป็นว่าคนที่ทำให้เส้นกราฟอารมณ์ของผู้เขียนตกอยู่ในแดนลบดันเป็นคนไทยด้วยกันเอง ซึ่งจะไม่เล่าในรายละเอียดเพราะอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ และผู้เขียนคิดว่ามันเป็นการไม่ยุติธรรมที่นำเอาเรื่องราวในแง่ไม่ดีของผู้อื่นมานำเสนอในบล็อกของเราแต่ฝ่ายเดียว โดยผู้อื่นไม่มีโอกาสได้ชี้แจง

วันที่ 16-22 ธันวาคม 2543 (มอนทรีอัล-ควิเบกซิตี้)

ผู้เขียนเดินทางออกจากออตตาวาประมาณสิบเอ็ดโมงครึ่งของวันที่ 16 ธันวาคม ใช้เวลาเดินทางประมาณสองชั่วโมงครึ่งก็มาถึงมอนทรีอัล

อากาศที่มอนทรีอัลช่วงนั้นไม่ค่อยจะดีนักนอกจากจะมีหิมะแล้วก็ยังมีฝนโปรยปรายเป็นบางช่วงอีกด้วย ทำให้การเดินเท้าไปตามสถานที่ต่างๆ ค่อนข้างลำบากเพราะพื้นถนนและทางเท้าลื่นมาก

เมื่อเริ่มมาถึงมอนทรีอัลผู้เขียนสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายความเป็นฝรั่งเศสของที่นี่ได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นจากเรื่องของภาษาก่อนเป็นอันดับแรก โดยป้ายชื่อถนน ป้ายประกาศบอกชื่อสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เป็นชื่อฝรั่งเศสหมดจนผู้เขียนไม่กล้าอ่านเพราะกลัวอ่านผิด ดังตัวอย่างชื่อย่านหรือเขตต่างๆ ในมอนทรีอัล

Ahuntsic-Cartierville, Anjou, Côte-des-Neiges–Notre-Dame-de-Grâce,Lachine, LaSalle, Le Plateau-Mont-Royal, Le Sud-Ouest, L'Île-Bizard–Sainte-Geneviève, Mercier–Hochelaga-Maisonneuve, Montréal-Nord, Outremont, Pierrefonds-Roxboro, Rivière-des-Prairies–Pointe-aux-Trembles, Rosemont–La Petite-Patrie, Saint-Laurent, Saint Leonard, Verdun, Ville-Marie and Villeray–Saint-Michel–Parc-Extension.

มอนทรีอัล หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า City of Montreal ชื่อภาษาฝรั่งเศสว่า Ville de Montréal เป็นเมืองที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหลักที่แพร่หลายมากที่สุดเป็นลำดับสองรองลงมาจากปารีส นอกจากนี้มอนทรีอัลยังเป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านการค้า การลงทุน ที่สำคัญของแคนาดาเป็นลำดับที่สองรองจากโตรอนโต สำหรับในเรื่องสถาปัตยกรรม อาคารตึกรามบ้านช่องของเมืองนี้ก็น่าสนใจมากไม่แพ้เรื่องอื่น ที่มอนทรีอัลแห่งนี้เขาสามารถอนุรักษ์สิ่งที่บ่งบอกของชาติกำเนิดของคนมอนทรีอัลได้เป็นอย่างดี โดยในส่วนที่เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ของเมือง หรือที่เขาเรียกว่า Old Montreal นั้นจะเป็นที่ตั้งของโบสถ์ วิหาร หรือสถานที่ในยุคเก่า เช่น Notre-Dame Basilica ที่นักท่องเที่ยวมักจะไม่พลาดที่จะเข้าเยี่ยมชม โดยในบริเวณเมืองเก่าของมอนทรีอัลมีสถาปัตยกรรมเก่าๆ มากมายรวมถึงพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าความเป็นมาของเมืองนี้ด้วย ซึี่งในแต่ละสถานที่มีที่ตั้งไม่ไกลกันนัก นักท่้องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะเดินเท้าในการซึมซับบรรยากาศเพื่อจินตนาการย้อนกลับไปยังปี ค.ศ. 1642 :ซึ่งเป็นปีที่เริ่มสร้างเมืองแห่งนี้ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ชอบเดินที่นี่เขาก็จะมีรถม้าไว้สำหรับบริการด้วย














สำหรับผู้ที่อยากมองทัศนียภาพสวยๆ แบบ panorama ของ downtown มอนทรีอัลสามารถเดินทางขึ้นไปชมวิวได้ที่ Mount Royal ที่ซึ่งเป็นแหล่งอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวเพื่อให้เป็นที่ฟอกปอดของคนเมืองมอนทรีอัล เพราะนอกจากจะเป็นสุสานสำหรับฝังศพในนิกายคาทอลิกแล้ว ที่นี่ยังมีสวนสาํธารณะขนาดใหญ่ถึงสามแห่ง โดยผู้ที่ออกแบบภูมิสถาปัตย์สวนสาธารณะบน Mount Royal แห่งนี้ เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ออกแบบภูมิสถาปัตย์สวนสาธารณะที่มีชื่อเสียงอย่าง Central Park ในนครนิวยอร์กด้วย




นอกเหนือจากสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นแล้ว สิ่งก่อสร้างร่วมสมัยที่มอนทรีอัลก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นสนามกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนเมื่อคราวที่มอนทรีอัลเป็นเจ้าภาพเมื่อปี ค.ศ. 1976 ซึ่งปัจจุบันสนามกีฬาแห่งนี้ก็ยังคงใช้อยู่ และสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกับการเดินเที่ยวห้างสรรพสินค้าเพื่อจับจ่ายสินค้าโดยเฉพาะบรรดาสตรีที่ชอบหาซื้อเครื่องสำอางแบรนด์เนมทั้งหลาย มอนทรีอัลก็สามารถตอบสนองความต้องการของคุณได้ เพราะที่นี่มี the underground city ที่เป็น underground complex ใหญ่ที่สุดในโลก โดย underground city แห่งนี้มีจุดเชืีอมต่อทั้งรถไฟใต้ดินหลากหลายสถานี จุดเชื่อมต่อของอาคาร สถานที่ทำงาน ร้านค้าสุด hip หรือห้างสรรพสินค้า chain ดังๆ ของแคนาดา เช่น the Bay, Eaton Centre ห้าง retailer อย่าง Sears Canada เป็นต้น รวมไปถึงธนาคาร และสารพัดสรรพสิ่ง สำหรับความกว้างของเมืองใต้ดินแห่งนี้กว้างประมาณสิบสองตารางกิโลเมตร และประโยชน์ใช้สอยสูงสุดที่ชาวเมืองมอนทรีอัลน่าจะชอบเมืองใต้ดินแห่งนี้น่าจะเป็นช่วงฤดุหนาวที่เมืองใต้ดินต้องรองรับการเดินทางของชาวเมืองเฉลี่ยตกวันละ 500,000 คน ที่ต้องการหลีกเลี่ยงอากาศหนาวเย็นบนพื้นดิน

















เพื่อให้เห็นภาพความสวยงามของเมืองแห่งนี้ ท่านสามารถเที่ยวทั่วเมืองมอนทรีอัลได้ภายในสองนาทีครึ่งตามวีดีโอคลิปข้างล่างนี้






กลิ่นอายแบบฝรั่งเศสถัดมาน่าจะเป็นเรื่องของอาหารขึ้นชื่อและเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ ที่มีชื่อเรียกว่า Shepherd’s pie, or ‘pate Chinois’ (ขอความกรุณาผู้สันทัดฝรั่งเศสอ่านเอาเองแล้วกัน) ซึ่งเจ้าพายนี้จะใส่ไส้ข้างในสามชั้น ชั้นล่างสุดจะเป็นเนื้อบดผสมกับหัวหอมชิ้นเล็กๆ ชั้นกลางจะเป็นเหมือนราดด้วยซุปครีมข้าวโพด ส่วนชั้นบนสุดจะโปะด้วยมันฝรั่งบดซึ่งบางทีก็โรยด้วยผงพริกหยวก เครื่องเคียงที่กินกับพายก็มีมากหลายแล้วแต่ความชอบ เช่น แตงกวาดอง ไข่ บีท หรือบางครั้งก็กินกับคุ๊กกี้ที่ทำมาจาก Maple Syrup ก็แล้วแต่จะชอบกันแบบไหน





ทีนี้กลับมาเรื่องที่ใกล้ตัวผู้เขียนในเรื่องที่พักบ้าง ในการมาเที่ยวที่มอนทรีอัลครั้งนี้ไม่ต้องพบกับความกระอักกระอ่วนใจเกี่ยวกับเรื่องความลี้ลับของ hostel เหมือนที่ออตตาวาแต่อย่างใด เพราะ Auberge Jeunesse เป็น hostel ธรรมดาๆ ที่ไม่ได้ดัดแปลงมาจากอาคารเก่าที่มีประวัติน่ากลัวแต่อย่างใด นอกจากนี้สิ่งอำนวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็นเรื่องห้องพัก ห้องครัว มีสภาพดีกว่าที่ออตตาวาค่อนข้างมาก










นอกจากนี้รูมเมทของผู้เขียนที่เป็นนักเรียนจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเนปาลสามคนก็มีอัธยาศัยต้องกัน คุยกันถูกคอจนพากันไปไหนต่อไหนด้วยกันได้เหมือนคนเคยรู้จักกันมานานอย่างนั้นเลย สิ่งเหล่านี้เลยเป็นการสร้างความประทับใจให้กับผู้เขียนที่มีต่อเมืองปารีสน้อยแห่งนี้

ผู้เขียนกล่าวคำอำลาเพื่อนร่วมห้องพักสามคนในตอนสายๆ ของวันที่ยี่สิบธันวาคมเพื่อออกเดินทางต่อไปยังควิเบกซิตี้ต่อไป

Photos credit to: http://highnotes.concordia.ca/2007/images/about/B37.jpg, http://www.bonjourquebec.com/fileadmin/Image/decouvrez/experiences/villes/montreal/tq_002754_g.jpg, http://xwdesigns.com/blog/wp-content/uploads/2009/06/800px-Mount_Royal_Montreal_Lookout.jpg, http://www.montreal.com/top/index.html, http://www.dkimages.com/discover/previews/988/50252008.JPG, http://www.play-montreal.com/wordpress/wp-content/uploads/2007/11/mtlsouterrain2_maxymegdelisle.jpg, http://static.squidoo.com/resize/squidoo_images/-1/lens2285644_1230757640shepherds-pie-recipes.jpg, http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://images.hostelworld.com/images/hostels/5273_1.jpg&imgrefurl=http://www.hostelworld.com/hosteldetails.php/Auberge-de-Jeunesse-Maeva-Montreal/Montreal/5273&usg=__vQuu7DztThsUhzlPRGIWvcfxp8M=&h=375&w=500&sz=237&hl=en&start=5&sig2=K3OYlTnpTfj-k2o5Qq7JMQ&um=1&tbnid=JWPFsTHQuBloGM:&tbnh=98&tbnw=130&prev=/images%3Fq%3DAuberge%2BJeunesse%2Bhostel%2Bin%2BMontreal%26hl%3Den%26rlz%3D1T4ADRA_enTH348TH348%26um%3D1&ei=wjYvS5rcEYrW7AOxzpjsBw

video credit to youtube by Virtual Canada

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เปิดลิ้นชักความทรงจำที่แคนาดา ตอน 10: MACKPACKER (3)

หมายเหตุ: รู้สึกว่าจะมีผู้สนใจ Carlton Hostel อยากรู้ว่าบรรยากาศเป็นอย่างไรก็เลยจะขอโพสท์วีดีโอของ youtube พาทัวร์ hostel แห่งนี้เผื่อมีผู้สนใจที่มีโอกาสได้ไปออตตาวา อยากไปพิสูจน์ก็ตามสะดวกกันเลย (เทคโนโลยีสมัยใหม่นี่ดีจริงๆ เราสามารถหาได้ทุกอย่างใน youtube)



ความเดิมต่อจากตอนที่แล้วว่าด้วยสภาพที่ค่อนข้างน่าสะพรึงของ Carlton Youth Hostel อันเป็นสถานที่พักของผู้เขียนช่วงที่ท่องเที่ยวในออตตาวา ตลอดระยะเวลาสามคืนที่พักอยู่ผู้เขียนก็ไม่ได้ประสบพบเห็นสิ่งใดๆ ที่เหนือปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่จะมีอย่างเดียวก็คือในช่วงดึกๆ จะเกิดเสียงดังเหมือนเสียงโลหะกระทบกันเป็นจังหวะๆ ในท่อน้ำ ซึ่งภายหลังมาพบคำให้สัมภาษณ์ของ Wade Kirkpatrick ผู้จัดการ hostel แห่งนี้ เล่าเรื่องที่เผอิญตรงกับสิ่งที่ผู้เขียนได้ยิน โดยตัวเขาเองก็ไม่เคยพบเจอวิญญาณในนี้ แต่เขาก็ประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่อาจสามารถอธิบายได้

"My wife, Crystal, and I lived here for four months before we bought our first house. We lived in an apartment of the seventh floor. We often heard voices and banging on the pipes, although no one was to be seen. People often claim to hear cell doors closing behind them as they walk down death row, which is on the floor above the apartment. One time we want away for the week and shut the water off to our apartment. When we returned from our holiday the water was turned on the hot water was now coming out of the cold water tap.?"

ยังไงก็แล้วแต่ตามความเห็นส่วนตัว ผู้เขียนคิดว่าด้วยสภาพเก่าแก่ของสถานที่ย่อมเป็นธรรมดาที่จะเกิดเสียงดังได้บ้าง สำหรับกรณีนี้ผู้เขียนไม่คิดว่าเกิดมาจากอิทธิฤทธิ์ของวิญญาณใน hostel แต่อย่างใด แต่ก็นั่นแหละนะสิ่งใดที่พิสูจน์ไม่ได้และดูลึกๆ ลับๆ มักจะมีแรงดึงดูดให้คนเดินทางมาพิสูจน์ความลึกลับเหล่านี้ ดังนั้นในแต่ละปี Carton Hostel จึงมีโอกาสต้อนรับ backpackers จำนวนมากที่พิสมัยเรื่องราวลึกลับแบบนี้

สำหรับประวัติโดยย่อของเมืองหลวงแคนาดาแห่งนี้นั้นได้รับการยกฐานะให้เป็นเมืองหลวงในสมัยของควีนวิกตอเรียในปี ค.ศ. 1857 โดยในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ 1857-1866 ได้สร้างอาคารตึกรามสำหรับเป็นที่ทำการของรัฐบาลที่สำคัญๆ ได้แก่ อาคารรัฐสภา หรือที่รู้จักกันว่า Parliament Hill ในหมู่นักท่องเที่ยวและเป็นสถานที่ที่ต้องเข้าเยี่ยมชมหากเดินทางมาเยือนออตตาวา



ก่อนที่กรุงออตตาวาจะมีภูมิสถาปัตย์และมีที่ทำการของรัฐบาลกลางได้สวยงามเช่นปัจจุบัน ออตตาวาเคยประสบกับหายนะครั้งใหญ่นั่นคือเกิดไฟไหม้ในปี ค.ศ. 1900 และ ค.ศ. 1916 แต่ผลจากการเกิดไฟไหมุ้ึถึงสองครั้งในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้ออตตาวาได้รับการบูรณะและมีการจัดวางผังเมืองเป็นอย่างดีในเวลาต่อมา

ผู้เขียนใช้เวลาสองวันหมดไปกับการเที่ยวชมสถานที่อาคารทำการของรัฐบาลกลางแคนาดาไม่ว่าจะเป็น Parliament Hill หรือศาลฎีกาของรัฐบาลกลางแคนาดา หรือ Supreme Court of Canada (ศาลแห่งนี้เองที่ตัดสินให้ส่งนายราเกรซ สักเสนา กลับเมืองไทยในขณะที่เจ้าตัวนั่งรอฟังคำสั่งศาลอยู่ที่บ้านพักในเมืองแวนคูเวอร์ที่ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งกับออตตาวา)



นอกเหนือจากนั้นก็เดินชมวิถีการใช้ชีวิตของชาวคาเนเดียนในเมืองหลวงว่าเขาทำกิจกรรมอะไรกันบ้างในหน้าหนาว ที่เห็นชัดๆ คือการใช้ชีวิตของคนที่นี่ก็เหมือนกับชาวตะวันตกทั่วไปที่นิยมกิจกรรมกลางแจ้ง แต่กิจกรรมก็จะแตกต่างๆ ไปตามฤดูกาล ถ้าเป็นหน้าร้อนอากาศดีๆ เขามักจะชอบจ๊อกกิ้ง หรือขี่จักรยาน แต่ถ้าหน้าหนาวแบบนี้ก็จะเล่นสกี หรือสเก็ตน้ำแข็ง สำหรับในออตตาวาในฤดูหนาวเช่นนี้ ที่น่าสนใจมากคือจะมีคนมาเล่นสเก็ตน้ำแข็งบน Rideau Canal ที่น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง มีทั้งเด็ก วัยรุ่นหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ มาเล่นสเก็ต หรือบ้างก็เดิน บนลานสเก็ตแห่งนี้ ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นลานสเก็ตน้ำแข็งที่ยาวที่สุดในโลก มีความยาวประมาณ 7.8 กิโลเมตร รวมทั้ง Rideau Canal ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือ World Heritage Site ของ UNESCO เมื่อปี ค.ศ. 2007 ด้วย ทั้งนี้อันเนื่องมาจากความเก่าแก่ของแม่น้ำสายนี้ที่ขุดขึ้นโดยฝีมือมนุษย์เมื่อช่วงปี ค.ศ. 1832 และความสำคัญในเรื่องการคมนาคมขนส่งสิืนค้าในยุคนั้นของแคนาดา ซึ่งปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ถือว่าเป็นแม่น้ำสายที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงเหลืออยู่ในอเมริกาเหนือ



Photos credit: http://z.about.com/d/gocanada/1/0/t/9/-/-/Parliament_Hill.jpg, http://www.ottawatourism.ca/en/what-to-do/canadian-heritage-experiences/national-sites, http://www.geosottawa.com/images/skating1-k2155-img014.jpg

video credit to youtube by lemonrind and by Mattis 10000

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ราชาของราชาทั้งปวง (King of Kings)

วันนี้เป็นวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ เป็นวันที่ประชาชนคนไทยมีความสุขยิ่งเมื่อได้เห็นในหลวงเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๒ พรรษา ผู้เขียนและพ่อแม่ได้ดูการถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจนับตั้งแต่เสด็จออกจากโรงพยาบาลศิริราชจนกระทั่งเสร็จสิ้นพระราชพิธีและเสด็จกลับไปประทับที่โรงพยาบาลศิริราช

เราสามคนพ่อแม่ลูกดูการถ่ายทอด ซึ่งบางช่วงบางตอนไ้ด้มีการสัมภาษณ์ประชาชนที่รอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่เต็มฝั่งถนนตลอดเส้นทาง เห็นบางคนน้ำตาซึม บางคนร้องไห้ด้วยความปลื้มใจที่ได้เห็นในหลวง ผู้เขียนเห็นว่าตอนนั้นแม่มีน้ำตาซึมๆ ออกมาด้วย

ครอบครัวเราอาจจะดูเป็นครอบครัวอนุรักษ์นิยมและเป็น royalist จัดมากๆ ในสายตาของคนหัวสมัยใหม่ที่ไม่รู้จักกำพืดและหัวนอนปลายเท้าของตนเองที่ตอนนี้เขานิยามตัวเองว่าพวกไม่นิยมเจ้าจะเป็นไปด้วยเหตุผลประการใดไม่ว่าจะเป็นพวกนิยมบูชาลัทธิกบฏผีบุญหน้าสี่เหลี่ยมศตวรรษที่ ๒๑ หรือพวกหัวนอกแต่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ เก่งแต่ทฤษฎีแต่ปฏิบัติไม่เอาไหน นิยมชมชอบรูปแบบการปกครองแบบตะวันตกอยากจะมีการปกครองแบบตะวันตกโดยไม่มองบริบทของสังคมไทยว่าเหมาะหรือไม่

สำหรับตัวผู้เขียนมีเหตุผลหนึ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมถึงรักและเคารพเทิดทูนในหลวงมาก อาจจะเป็นเพราะว่าในช่วงหนึ่งของชีวิตได้เคยปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานราชการที่มีที่ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะได้เข้าเฝ้าฯ ผู้เขียนรู้สึกว่าตัวเองมีบุญมากที่ได้เคยเข้าเฝ้าในหลวงอย่างใกล้ชิดถึงสองครั้งเมื่อคราวที่ท่านเสด็จมาที่พระอุโบสถวัดพระแก้ว ผู้เขียนได้เห็นและได้สัมผัสสิ่งที่คนเฒ่าคนแก่เขาเรียกว่าบุญญาบารมีที่เปล่งออกมาให้เราสัมผัสได้ไม่ว่าจะออกมาจากสีพระพักตร์ หรือพระวรกายยามเมื่อองค์พระประมุขเสด็จผ่าน และอีกครั้งหนึ่งที่ผู้เขียนจำได้แม่นยำคือเมื่อคราวที่ท่านเสด็จมาที่วัดพระแก้ว และท่านกำลังดำเนินอยู่ตามลาดพระบาท ซึ่งตลอดสองฝั่งลาดพระบาทมีประชาชนถวายเงินเพื่อเสด็จพระราชกุศล โดยในหลวงท่านทรงยื่นพระหัตถ์เพื่อรับเิงินเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง ผู้เขียนเห็นดังนั้นจึงหยิบเงินขึ้นมาจำนวนหนึ่งเพื่อตั้งใจจะถวาย พร้อมตั้งจิตอธิษฐานในสิ่งที่คนไทยจำนวนมากปวารณาไว้นั่นคือในชีวิตหน้าถัดๆ ไป ขอให้ได้เกิดเป็นพสกนิกรของในหลวงพระองค์นี้เหมือนอย่างที่เป็นพสกนิกรของท่านในชีวิตนี้

ผู้เขียนรู้สึกหัวใจเต้นแรงเมื่อท่านเสด็จมาใกล้ตรงที่ผู้เขียนนั่งอยู่ และเมื่อท่านเสด็จมาถึงจุดที่ผู้เขียนนั่งอยู่ความรู้สึกของผู้เขียนเหมือนว่างเปล่าตัวเบาไม่มีความรู้สึก เมื่อได้มีโอกาสถวายเงินในมือของตนเองพร้อมได้มีโอกาสสัมผัสพระหัตถ์องค์พระประมุขเมื่อท่านยื่นพระหัตถ์มาเพื่อรับเงินที่ผู้เขียนถวาย แต่ความรู้สึกหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึกได้ในขณะนั้นคืออุ้งพระหัตถ์ของบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นพระราชา เป็นพระมหากษัตริย์มิได้อ่อนนุ่มอย่างที่จินตนาการว่าจะเหมือนอุ้งมือของพระราชาในเทพนิยายที่ใช้ชีวิตสุขสบายอยู่แต่ในรั้วในวังแต่อย่างใด กลับตรงกันข้ามผู้เขียนรู้สึกว่าอุ้งพระหัตถ์ของในหลวงนั้นถ้าจะว่าตามประสาชาวบ้านก็คือ สากและหยาบกระด้างเหมือนผู้ที่ต้องใช้มือในการทำงานอย่างมาก สิ่งที่ผู้เขียนสัมผัสได้นี้ก็ไม่แปลกอะไรเพราะพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ที่ได้ทรงบำเพ็ญมาตลอดหกสิบกว่าปีเป็นสิ่งพิสูจน์แล้วว่าพระองค์ได้อุทิศพระวรกายและความอุตสาหะอย่างหนักเพื่อพสกนิกรและประเทศไทยของเรามีมากมายเพียงใด

ในวโรกาสนี้ผู้เขียนคงเหมือนกับคนไทยทั้งมวลที่ตั้งจิตตั้งใจอธิษฐานขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็ว ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน หมู่มารที่คิดร้ายต่อพระองค์ท่านและชาติบ้านเมืองขอให้พ่ายแพ้ต่อบุญญาบารมีของพระองค์ สถิตย์อยู่เป็นเจ้าอยู่หัวของคนไทยตราบนานเท่านาน






Video Credit to youtube by US Embassy in BKK.

ขอบคุณวีดีโอจาก youtube โดย Sk Sutawee

(ผู้เขียนต้องขอขอบคุณผู้อ่านที่คลิกเข้ามาอ่านเรื่องราวสรรเพเหระของผู้เขียนทุกท่าน ดูจาก counter ก็มีคน follow อยู่พอควร ระยะนี้ต้องขออภัยคนอ่านที่รอการ updated เรื่องเปิดลิ้นชักความทรงจำที่แคนาดาตอน MACKPACKER ด้วย คงอีกประมาณสามสี่วันถึงจะมา updated ได้เพราะตอนนี้ร่างกายและหัวสมองไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมเพราะเมื่อเร็วๆ นี้เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับตัวผู้เขียนเอง สถานที่ก็ไม่ใช่ที่ไหนก็คือที่โรงพยาบาลศิริราช วันนั้นพาแม่ไปหาหมอเพื่อตรวจสุขภาพไต ทำธุระเสร็จแล้วกำลังจะเดินกลับมาที่จอดรถนอกโรงพยาบาล ด้วยอารามจะรีบข้ามถนนทำให้ตัวเองไปสะดุดกับฝาท่อระบายน้ำที่มันชำรุดอยู่ ล้มคว่ำแล้วเอาหน้าลง เลือดไม่รู้มาจากไหนต่อจากไหนไหลเลอะเทอะเต็มเสื้อผ้าไปหมด สรุปวันนั้นแม่ซึ่งเป็นคนป่วยต้องเป็นฝ่ายพยุงคนดีอย่างผู้เขียนไปหน่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาล ตอนนี้เลยยังไม่ค่อยหายดีเพราะปวดเมื่อยจากบาดแผลและมีอาการไข้อยู่บ้าง แต่คงจะดีขึ้นในอีกไม่ช้า)